ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ปตท. ได้ให้ความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง โดยในปี 2537 ได้อาสาปลูกป่า 1 ล้านไร่ทั่วประเทศ ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 จากผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานในการฟื้นฟูป่าทั่วประเทศกว่า 1 ล้านไร่ ปตท. ได้พัฒนาต่อยอดและจัดตั้ง “สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท.” ดำเนินภารกิจในการฟื้นฟูป่าและระบบนิเวศ ส่งเสริมพัฒนาเครือข่ายเพื่อดูแลป่าอย่างยั่งยืน ตลอดจนการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ 3 แห่ง เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณชน โดยได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ จัดตั้งโครงการ “ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี” จ.ประจวบคีรีขันธ์ และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ขึ้นบนที่ดินของ ปตท. อีก 2 แห่ง ได้แก่ “ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์” จ.ระยอง และ “ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง” จ.กรุงเทพฯ
ปตท. ตั้งใจให้ศูนย์เรียนรู้ “ป่าในกรุง” เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องป่า และระบบนิเวศที่ผสมผสานความสวยงามด้านภูมิสถาปัตยกรรม บนพื้นที่ใจกลางเมืองหลวง ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาพื้นที่สีเขียวบนที่ดินว่างเปล่ารกร้างจำนวน 12 ไร่ 1 งาน 2 ตารางวา ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่บนถนนสุขาภิบาล 2 เขตประเวศ จากเดิมเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่าและเป็นที่ทิ้งขยะ โดยมีแนวความคิดที่จะ“สร้างป่าให้กับคนกรุงเทพฯ” โดยออกแบบจัดสรรสัดส่วนพื้นที่เป็น 3 ส่วน คือ พื้นที่ปลูกป่ากว่า 9 ไร่ หรือคิดเป็นประมาณ 75% ของพื้นที่ พื้นที่แหล่งน้ำ 1 ไร่ หรือประมาณ 10 % ของพื้นที่ และพื้นที่อาคารเพื่อการเรียนรู้ 2 ไร่ หรือประมาณ 15 % ของพื้นที่
โดยในส่วนของพื้นที่ปลูกป่า ได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการปลูกป่านิเวศของศาสตราจารย์ ดร.อาคิระ มิยาวากิ ร่วมกับองค์ความรู้จากการปลูกป่ามาแล้วกว่า 1 ล้านไร่ทั่วประเทศ ของ ปตท. มาต่อยอดเป็น “ป่านิเวศ” ที่จำลองป่ากรุงเทพฯ ในอดีต โดยปลูกในลักษณะเลียนแบบป่าธรรมชาติ ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้พื้นเดิมของกรุงเทพฯ และพันธุ์ไม้หายากจำนวนกว่า 270 ชนิด ใช้กล้าไม้จำนวนกว่า 40,000 ต้น ผสมผสานทั้งกลุ่มพันธุ์ไม้โตเร็วที่ช่วยสร้างร่มเงา และพันธุ์ไม้โตช้าหลากหลายชนิด เพื่อให้คนกรุง หรือเด็กรุ่นใหม่ที่เติบโตในเมือง ได้มีโอกาสรู้จักและสัมผัสป่าอย่างใกล้ชิด ไม่ต้องเดินทางไกล และได้ตระหนักและร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
ในส่วนของพื้นที่อาคารเพื่อการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย อาคารนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้ ที่มีการออกแบบให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นต้นแบบของนวัตกรรมอาคารเขียว เช่น ผนังดินบดอัด หลังคาสวนสีเขียว หลังคาโรงจอดรถติดตั้งระบบดึงพลังงานจากแสงอาทิตย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีห้องฉายภาพยนตร์ขนาดเล็ก และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ทางชมเรือนยอด (Skywalk) ที่ทอดยาวไปตามพื้นที่ป่า เป็นทางเดินเชื่อมไปยังหอชมป่า (Observation Tower) โดยระหว่างทางเดินจะได้เรียนรู้เรียนรู้สังคมพืชต่างๆ พร้อมชมทัศนียภาพผืนป่าได้รอบทิศทาง 360 องศา
พิเศษสุด!คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง!คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง! ศูนย์เรียนรู้ “ป่าในกรุง” ได้ยกไฮไลท์เด่นจากป่านิเวศ สู่งานไทยเที่ยวไทย ครั้งที่ 65 ที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ Hall 6 บูธ J35 เพียงลงทะเบียนเข้าเยี่ยมชมป่าในกรุงที่บูธกิจกรรมรับสิทธิพิเศษทันที 2 ต่อ คือ วิทยากรนำเยี่ยมชมตลอดเส้นทางป่าในกรุง ปตท. ถนนสุขาภิบาล 2 เขตประเวศ และรับสิทธิร่วม Workshop : BEESWAX WRAP “ไขผึ้งห่ออาหาร” ทางเลือกใหม่สำหรับการลดใช้พลาสติก ไปพบกันได้ที่ บูธศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง ในงานไทยเที่ยวไทย ครั้งที่ 65 ที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ Hall 6 บูธ J35 ตั้งแต่วันที่ 2-5 มีนาคมนี้