ค่าเงินบาทเปิดตลาดอ่อนค่า นักลงทุนกลับมาเล่นประเด็นเฟดขึ้นดอกเบี้ย

ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่าดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยได้ปัจจัยหนุนจากการที่ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ออกมาใกล้เคียงกับการคาดการณ์ และอัตราการว่างงานที่ลดลงนั้น บ่งชี้ถึงภาวะตึงตัวในตลาดแรงงานสหรัฐ ซึ่งอาจจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)เดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 2-3 พ.ค. นี้

ค่าเงินบาทอ่อนค่าตั้งแต่วันจันทร์จากข้อมูลตัวเลขจ้างงานสหรัฐออกมาดีกว่าคาด

ตลาดรอข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐเพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยทางการสหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนมี.ค.ในวันที่ 12 เม.ย. และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ประจำเดือนมี.ค.ในวันพฤหัสบดีที่ 13 เม.ย.

วานนี้นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรไทยสุทธิ 4,769 ล้านบาท ในขณะที่ซื้อหุ้นไทยสุทธิ 2,495.19 ล้านบาท

แนะนำ ผู้นำเข้าควรซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อปิดความเสี่ยง และผู้ส่งออก แนะนำขายเงินตราต่างประเทศที่เหนือระดับ 34.55 บาท/ดอลลาร์

ทองเย็นนี้ปิดบวก 50 บาท ทองต่างประเทศกลับมาแตะ 2,000 ดอลลาร์

ค่าเงินบาทวันนี้ เปิดตลาดอ่อนค่า คาดเฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.25%

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เคลื่อนไหวผันผวน โดยดัชนี S&P500 ปิดตลาด +0.10% กดดันโดยแรงขายหุ้นเทคฯ ใหญ่ (Alphabet -1.8%, Apple -1.6%) ท่ามกลางความกังวลของผู้เล่นในตลาดว่า เฟดมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ +0.25% อีกครั้ง (ตลาดให้โอกาส 72% จาก CME FedWatch Tool) หลังข้อมูลการจ้างงานล่าสุดยังคงออกมาดีกว่าคาด

แนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวของเฟดก็อาจเพิ่มความเสี่ยงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงหนักและเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ได้ ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมากนักและต่างรอรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ CPI ที่จะรายงานในวันพุธนี้ รวมถึงรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยเฉพาะกลุ่มการเงินในช่วงวันศุกร์ ก่อนที่จะปรับสถานะถือครองที่ชัดเจนต่อไป

ส่วนทางด้านตลาดบอนด์ มุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ปรับเพิ่มโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในเดือนพฤษภาคม หลังยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ล่าสุด ออกมาดีกว่าคาด ได้หนุนให้บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ อย่างบอนด์ยีลด์ 10 ปี ได้ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง สู่ระดับ 3.41% ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นโซนแนวต้านที่สำคัญและหากบอนด์ยีลด์เริ่มกลับมาปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องได้ ก็มีโอกาสที่จะทดสอบโซนแนวต้านถัดไปแถว 3.60%

เงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังผู้เล่นในตลาดกลับมามองว่าเฟดมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังพอได้แรงหนุนจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้ล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 102.5 จุด ทั้งนี้ โซน 102.5-103 จุด ก็เป็นโซนแนวต้านสำคัญของเงินดอลลาร์ในช่วงนี้ ทำให้เงินดอลลาร์อาจเคลื่อนไหว sideways ในช่วงก่อนที่ตลาดจะรับรู้รายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ

ส่วนในฝั่งราคาทองคำ แม้ผู้เล่นในตลาดจะไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมาก แต่การปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้กดดันให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย.) ย่อตัวลงใกล้โซนแนวรับแถว 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์

อย่างไรก็ดี ราคาทองคำยังพอได้แรงหนุนจากความต้องการถือทองคำเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย จากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ เสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ราคาทองคำยังสามารถแกว่งตัวเหนือโซนแนวรับได้จากโฟลว์ซื้อทองคำในจังหวะย่อตัวคำพูดจาก เว็บสล็อตลิขสิ

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท ในช่วงเดือนเมษายนมีโอกาสแกว่งตัว sideways up หรือทยอยอ่อนค่าลงได้บ้าง โดยล่าสุดเงินบาทได้ปรับตัวขึ้นทะลุโซนแนวต้าน เส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วัน (รวมถึงทะลุกรอบเทรนด์ขาลงที่เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม) อีกทั้งสัญญาณจาก RSI และ MACD ก็สะท้อนแนวโน้มว่าเงินบาทมีโอกาสแกว่งตัวอ่อนค่าลง

 ค่าเงินบาทเปิดตลาดอ่อนค่า นักลงทุนกลับมาเล่นประเด็นเฟดขึ้นดอกเบี้ย

By admin

Related Post