สำหรับชาวไทยเชื้อสายจีน เมื่อฤดูร้อนมาถึง นั่นเป็นสัญญาณของการเตรียมตัวเข้าสู่ “เช็งเม้ง” แล้ว เพราะช่วงเวลาของการเดินทางไปไหว้บรรพบุรุษที่สุสานตามธรรมเนียมโบราณของจีนจะตรงกับช่วงนี้พอดี
หลายบ้านในช่วงนี้จึงเริ่มเตรียมการเตรียมของไหว้ต่างๆ ทั้งการเตรียมของไหว้บรรพบุรุษ เตรียมตกแต่งทำความสะอาดฮวงซุ้ย และการรวบรวมลูกหลานให้กลับมาพร้อมหน้าพร้อมตากัน
แน่นอนว่าเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน ระดับความเข้มข้นของธรรมเนียมก็เริ่มเบาบางลง และในบางคนอาจเผชิญปัญหาที่ว่าลูกหลานเริ่มไม่อยากไปเช็งเม้ง หรือครั้นจะถามว่าจำได้หรือไม่ ว่าต้องกราบไหว้ด้วยธูปกี่ดอก เทน้ำชากี่แก้ว ก็ทำเอาทะเลาะกันทุกครั้ง เพราะจะเจอคำถามกลับต่างๆ นานาๆ เช่น "ของไหว้ถ้าจะเตรียมไว้ 3 หรือ 5 ชุดจะต่างกันอย่างไร เป็นเมนูอย่างไก่ทอดแทนไก่ต้มได้หรือไม่" แต่เมื่ออธิบายว่า “นี่เป็นสิ่งที่สืบทอดมาแต่โบราณแล้ว” สุดท้ายแล้วในทุกๆ ปี ก็เกิดเรื่องราวให้ถกเถียงกันได้แบบเดิม
ทำเอาผู้ใหญ่หลายคนหนักใจ คิดว่าเด็กสมัยนี้คงไม่รู้ธรรมเนียมกันแล้ว เมื่อไร้ผู้สืบทอด ก็คงไม่มีใครมาไหว้บรรพบุรุษ หรือตัวเราเมื่อวายชนม์ไปแล้ว ดังนั้นแล้วผิดหรือไม่ หรือควรทำอย่างไรดี เมื่อลูกหลานไม่อยากสืบทอดประเพณีเช็งเม้ง
ผิดหรือไม่ที่ไม่อยากไปเช็งเม้ง
การไม่อยากไปเช็งเม้งที่จริงแล้วก็ไม่ผิด ขณะเดียวกัน อากง อาม่า หรือคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ผิดเช่นกัน ที่จะอยากให้เราไปเช็งเม้งและกราบไหว้บรรพบุรุษตามขนบธรรมเนียมดั้งเดิม อย่างไรก็ตามอยากให้ทำความเข้าใจจุดต่างของความเชื่อทั้ง 2 ยุคสมัยกันก่อน
คนสมัยก่อนอาจให้ความสำคัญกับการสืบทอดประเพณี และถือว่าธรรมเนียมเหล่านี้เป็นรากเหง้าของครอบครัว โดยจะเชื่อว่า ธรรมเนียมนี้ เป็นสิ่งที่บ้านเราสืบทอดกันมาแต่โบราณแล้ว ควรทำให้ถูกต้อง บรรพบุรุษจะได้พอใจ ช่วยปกปักษ์รักษาครอบครัวเรา
แต่สำหรับเด็ก ที่เริ่มมีความคิดอิสระมากขึ้น ด้วยยุคสมัยที่แปรเปลี่ยนไป พวกเขากลับมองว่าการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษอาจทำเมื่อไรที่ไหนก็ได้ ไม่จำกัดว่าจะต้องเฉพาะวันเช็งเม้งเท่านั้น และธรรมเนียมปฏิบัติที่ยึดถือกันมาควรเปลี่ยนแปลงให้เข้ายุคเข้าสมัยเพิ่มขึ้น อย่างการไหว้ด้วย ไก่ต้ม เป็ดพะโล้ อาจทำให้อากง อาม่าเบื่อกันได้ ควรเป็นเมนูใหม่ๆ อย่างไก่ทอด กุ้งอบวุ้นเส้น แทนอากง อาม่า จะได้ลองเมนูใหม่ๆ ไม่ทำให้เบื่อด้วย แถมหลังไหว้เสร็จคนในครอบครัวก็จะยิ่งฟินมากขึ้น
แน่นอนว่าคำตอบเหล่านี้ไม่มีถูกไม่มีผิด และเหตุผลของแต่ละฝ่ายก็มีน้ำหนัก ดังนั้นการเข้าใจรอยต่อระหว่างยุคสมัยจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ทำอย่างไรเมื่อลูกหลานไม่อยากสืบทอดเช็งเม้งแบบเดิม
สิ่งแรกที่ทุกคนควรทำคือ การวางความเชื่อในแบบของตัวเองลงก่อน ถ้าลูกหลานเกิดความสงสัยว่าทำสิ่งเหล่านี้ไปเพื่ออะไร ขอให้คิดไว้ก่อนว่า สิ่งที่เขาต้องการอาจไม่ใช่การต่อต้าน แต่เป็นการที่ผู้ใหญ่สามารถสร้างความเข้าใจที่เหมาะสมกับเขาได้
ดังนั้นวาทะซ้ำๆ ที่อธิบายว่า “ต้องไปเช็งเม้งเพราะเป็นสิ่งที่ทำสืบต่อกันมาตั้งนานแล้ว” หรือ “ต้องทำให้ถูกต้องเพราะบรรพบุรุษจะได้พอใจ ปกปักษ์รักษาครอบครัวเรา” อาจใช้ไม่ได้ผลกับคนรุ่นใหม่ต่อไป
เพราะฉะนั้นการอธิบายถึงที่มาของประเพณีนั้นอาจได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า เนื่องจากประเพณีคือมรดกทางสังคมที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เบื้องหลังของประเพณีต่างๆ มักมีที่มาและเป้าหมาย และเช็งเม้งก็เช่นกันคำพูดจาก สล็อตทรูวอเลท
ประวัติของ “วันเช็งเม้ง”
“เช็งเม้ง” (Qingming) เป็นหนึ่งในมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของจีน ซึ่งยึดถือปฏิบัติกันมารุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบันยาวนานกว่า 2,500 ปีแล้ว
โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากตำนานการรำลึกถึงบรรพบุรุษของพระเจ้าฮั่นเกาจูก่อนจะเป็นที่แพร่หลายกลายมาเป็นประเพณีที่ชาวจีนจะไปรวมตัวกันที่ฮวงซุ้ยของบรรพบุรุษเพื่อทำความสะอาด และทำพิธีกราบไหว้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว รวมทั้งแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษด้วยอาหารคาว หวาน และกระดาษเงินกระดาษทอง โดยเชื่อว่าเป็นการส่งให้บรรพบุรุษนำไปใช้ในอีกภพภูมิหนึ่งได้
เป้าหมายหลักของเช็งเม้งจึงเป็นการแสดงความกตัญญู แต่มากกว่านั้นยังแฝงช่วงเวลาที่สมาชิกภายในบ้านจะได้กลับมาทำกิจกรรมร่วมกันด้วย เทศกาลนี้จึงถือเป็นเครื่องเตือนใจให้ทุกคนรำลึกอยู่เสมอว่า “ไม่มีใครในครอบครัวที่ถูกทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง”
ดังนั้นแล้วการได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกัน และสานต่อความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน คือสิ่งสำคัญที่สุด
สุดท้ายการทำความเข้าใจ และเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงบางอย่างร่วมกัน เช่น การยอมเปลี่ยนแปลงของไหว้บางอย่าง เพื่อดึงคนรุ่นใหม่ให้เข้ามามีบทบาทส่วนร่วมกับประเพณีของครอบครัว นอกจากจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันแล้ว ยังทำให้เทศกาลของครอบครัวไม่เคร่งเครียดเกินไป
แม้จะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ธรรมเนียมประเพณีเหล่านี้ก็บรรลุจุดประสงค์ของตัวมันด้วยแล้ว และไม่แน่ว่าหากวิญญาณผู้วายชนม์ได้มองลงมา เขาจะได้เห็นลูกหลานของพวกเขาสืบทอดสายสัมพันธ์ของตระกูลต่อไปได้อย่างยืนยาวไม่มีที่สิ้นสุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, NETPAMA และ นิสิตศึกษา
รู้จัก “รยูจุนยอล” นักแสดงมากความสามารถ หนุ่มผู้ครองหัวใจสาวฮันโซฮี
ลูกน้องบิ๊กโจ๊ก แฉ! เส้นทางการเงิน “นายพล ต.-ครอบครัว”โยงเว็บพนัน BNK
เริ่มแล้ว! พายุฤดูร้อนถล่มหนัก! ฝนตก-ลูกเห็บตก บ้านเรือนเสียหายเพียบ