รายงานข่าวจากกรมทางหลวง(ทล.)แจ้งว่าสำนักก่อสร้างทางที่ 2 ดำเนินโครงการสำคัญในพื้นที่รับผิดชอบของแขวงทางหลวงนครราชสีมาที่ 1, 2และ 3 สำนักงานทางหลวงที่ 10(นครราชสีมา)จำนวน 5 โครงการ ระยะทางรวม 61.707 กิโลเมตร(กม.)งบประมาณรวม 3,267 ล้านบาทโครงการทยอยเปิดให้บริการในปี 67 เสร็จสมบูรณ์ในปี 69ดังนี้
1.โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 202 ตอน อ.แก้งสนามนาง-อ.บัวใหญ่ ระหว่าง กม.25+660-กม.26+063, กม.26+900-กม.27+660 และ กม.28+245-กม.48+000 พื้นที่ อ.แก้งสนามนาง และ อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ระยะทาง 20.918 กม. งบประมาณ 899 ล้านบาท ปัจจุบันคืบหน้า 30.232% สร้างเมื่อ ส.ค. 64 เปิดบริการปี 67 ระยะเวลา 930 วัน
2.โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 290 สาย บ.หนองยาง-บ.หมูสี ช่วง กม. 9+000-14+825 พื้นที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา ระยะทาง 5.825 กม. งบประมาณ 248 ล้านบาท ปัจจุบันคืบหน้า 8.375% สร้างเมื่อ มี.ค. 66 เปิดบริการปี 67 ระยะเวลา 540 วัน
3.โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 24 สายแยกปักธงชัย-แยกโชคชัย ตอน 1 ช่วง กม.39+500-กม.45+500 พื้นที่ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ระยะทาง 6 กม. งบประมาณ 580 ล้านบาท ปัจจุบันคืบหน้า 0.283% สร้างเมื่อ ก.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 66 เปิดบริการปี 69 ระยะเวลา 1,050 วัน
4.โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 24 สายแยกปักธงชัย-แยกโชคชัย ตอน 2 ช่วง กม.45+500-กม.51+350 พื้นที่ อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ระยะทาง 5.850 กม. งบประมาณ 560 ล้านบาท ปัจจุบันคืบหน้า 0.721% สร้างเมื่อ มิ.ย. 66 เปิดบริการปี 68 ระยะเวลา 780 วัน
5.โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 224 สาย บ.โคกกรวด-บ.หนองสนวน จ.นครราชสีมา ช่วง กม.66+331-กม.80+000 และ กม.92+555-กม.102+000 พื้นที่ อ.ครบุรี และ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา ระยะทาง 23.114 กม. งบประมาณ 980 ล้านบาท โดยได้ลงนามสัญญากับผู้รับจ้างไปเมื่อวันที่ 4 ก.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 66 เริ่มสร้าง 5 ก.ย. 66 เปิดบริการปี 69 ระยะเวลา 1,080 วัน
โครงการส่วนใหญ่จะเป็นการขยายถนนจาก2ช่องจราจร เป็น4ช่องจราจร ทิศทางละ2ช่องจราจร และมีบางโครงการได้ปรับปรุงถนนใหม่ จากเดิมขนาด 4 ช่องจราจร ผิวทางแอสฟัลต์ จะก่อสร้างใหม่เป็น 4 ช่องจราจรเท่าเดิม พร้อมขยายความกว้างถนน ผิวทางใหม่เป็นแบบคอนกรีต และบางช่วงก่อสร้างทางคู่ขนาน มีไหล่ทาง เกาะกลางถนน ติดตั้งแบริเออร์คอนกรีต จุดกลับรถ ศาลาทางหลวง ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย และติดตั้งไฟส่องสว่าง
เมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะเป็นเส้นทางโครงข่ายหลักในการคมนาคมขนส่งและท่องเที่ยวศูนย์กลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) จาก จ.นครราชสีมา ไปยังจังหวัดภาคอีสาน และประตูการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ให้สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ลดต้นทุนการขนส่ง ลดอุบัติเหตุ รวมทั้งแบ่งการปริมาณการจราจรบนเส้นทางหลัก และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนที่อาศัยอยู่แนวเส้นทางให้มีความเจริญมากขึ้น